เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร] เรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์

สมณพรามณ์ เทวดาและมนุษย์ บรรลุ แสวงหา ตรองตามด้วยใจทั้งหมด ฉะนั้น ชาว
โลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’
เพราะตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใด ปรินิพพานด้วย
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด ในระหว่างนี้ ย่อมภาษิต กล่าว แสดงคำใด
คำนั้นทั้งหมดเป็นจริงอย่างนั้นแล ไม่เป็นอย่างอื่น ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’
เพราะตถาคตกล่าวอย่างใดก็ทำอย่างนั้น ทำอย่างใดก็กล่าวอย่างนั้น ตถาคต
กล่าวอย่างใดก็ทำอย่างนั้น ทำอย่างใดก็กล่าวอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้ ฉะนั้น
ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’
เพราะตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้ เผยแผ่อำนาจไปใน
โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’

เรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์

[189] จุนทะ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคต1เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง กระนั้นหรือ’ เธอทั้งหลาย
พึงกล่าวอย่างนี้กับอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘พระผู้มีพระภาคมิได้
ทรงพยากรณ์ไว้แม้อย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’
เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง กระนั้นหรือ’ เธอทั้งหลายพึงกล่าว
อย่างนี้กับอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘พระผู้มีพระภาคมิได้ทรง

เชิงอรรถ :
1 ตถาคต เป็นคำที่ลัทธิอื่น ๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า
อรรถกถาอธิบายว่า สัตตะ (ที.สี.อ. 65/108)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :147 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร] เรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์

พยากรณ์ไว้แม้อย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’
เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง กระนั้นหรือ’ เธอทั้งหลาย
พึงกล่าวอย่างนี้กับอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘พระผู้มีพระภาคมิได้
ทรงพยากรณ์ไว้แม้อย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก นี้
เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง กระนั้น
หรือ’ เธอทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้กับอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า
‘พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงพยากรณ์ไว้แม้อย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุไร พระ
สมณโคดมจึงไม่ทรงพยากรณ์เรื่องนั้น’ เธอทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้กับอัญเดียรถีย์
ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘เพราะเรื่องนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์1 ไม่ประกอบ
ด้วยธรรม2 ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของพรหมจรรย์3 ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็น

เชิงอรรถ :
1 ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 2 อย่าง คือ (1) ทิฏฐธัมมิกัตถะ
(ประโยชน์ในโลกนี้) (2) สัมปรายิกัตถะ(ประโยชน์ในโลกหน้า) (ที.ปา.อ. 189/105)
2 ไม่ประกอบด้วยธรรม ในที่นี้หมายถึงไม่ประกอบด้วยโลกุตตรธรรม 9 (ที.ปา.อ. 189/105)
3 ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของพรหมจรรย์ คือ ไม่ใช่เบื้องต้นแห่งศาสนพรหมจรรย์ทั้งสิ้นที่รวบรวมไตรสิกขา
(ที.ปา.อ. 189/105)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :148 }